เกี่ยวกับโครงการ

โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน

ชื่อโครงการ
โครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง : ศิลปกรรมจากภูมิปัญญาไทย
Thai Creative Economy : Art from Thai Intelligence (ATI)


หลักการและเหตุผล

การดำเนินพันธกิจทั้ง 4 ด้านของคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งด้านการเรียนการสอน ด้านการสร้างสรรค์และวิจัย ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม
และชุมชน และ ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ได้กำหนดเป้าหมายหลักเพื่อการสร้างสรรค์ศิลปกรรมที่มีคุณค่าไว้เป็นประการสำคัญประการหนึ่ง โดยเฉพาะศิลปกรรมที่สะท้อน
จุดเด่นความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

ศิลปกรรมที่สะท้อนจุดเด่นความเป็นเอกลักษณ์ของชาติได้นั้นย่อมต้องเกิดจากการได้เรียนรู้ศึกษา ภูมิปัญญาไทยที่มีอยู่ก่อนแล้วนำมาต่อยอดพัฒนาสร้างสรรค์ให้เกิดศิลปกรรมที่มีคุณค่า
เหมาะสมกับสมัยขึ้นใหม่

ภูมิปัญญาความรู้ของไทยไม่ว่าจะเป็นในส่วนกลางหรือในแต่ละท้องถิ่นล้วนเป็นสิ่งน่าศึกษา มีอัตลักษณ์พิเศษ สามารถนำมาเป็นรากฐานในการสร้างสรรค์ศิลปกรรมให้เกิดความเด่นพิเศษ
ได้มากมหาศาล

โครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง : ศิลปกรรมจากภูมิปัญญาไทย เป็นโครงการที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พัฒนาต่อยอดจากโครงการศิลปกรรมสู่ชุมชน เพื่อนำความรู้จากภูมิปัญญาความรู้ที่มีอัตลักษณ์พิเศษของท้องถิ่นผนวกกับการสร้างสรรค์ของคณาจารย์ ศิลปินที่มีความสามารถจาก
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ เพื่อให้เกิดผลงานศิลปกรรมที่มีคุณค่าทางวิจิตรศิลป์โดยตรงเพื่อการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้มีความเข้มแข็งสืบไปข้างหน้า
และสามารถนำความรู้ที่ได้มาจากการสร้างสรรค์และรากฐานที่มาของภูมิปัญญาความรู้ท้องถิ่นที่มีอัตลักษณ์ปรับประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพหรือเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจไทย

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ศิลปินชั้นนำได้นำศักยภาพด้านการสร้างสรรค์ต่อยอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างสรรค์ / ออกแบบศิลปกรรมที่แสดงอัตลักษณ์ท้องถิ่นไทย
  • เพื่อให้ได้องค์ความรู้ทางวิชาการอันจะเกิดประโยชน์แก่การสร้างสรรค์ / ออกแบบต่อไป
  • เพื่อเป็นการเผยแพร่ความสำคัญ คุณค่าทางสุนทรีย์จากภูมิปัญญาความรู้ท้องถิ่นที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างสรรค์ศิลปกรรมของโครงการฯ
  • เพื่อสร้างกระบวนการที่มีส่วนร่วมระหว่างศิลปิน อาจารย์ นักวิชาการศิลปะ หรือนักศิลปะกับท้องถิ่นและผู้ประกอบการ
  • เพื่อให้ได้องค์ความรู้เพื่อประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเจ้าของธุรกิจ / ผู้ประกอบการท้องถิ่น

 

เป้าหมาย / ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการ

ประเภท สถานะโครงการ จำนวนประมาณ / คน
คณาจารย์ ศิลปิน ศิษย์เก่า / นักศึกษา ศิลปินหลักผู้สร้างสรรค์ / ออกแบบศิลปกรรม
ศิลปินผู้ช่วยในการสร้างสรรค์ / ออกแบบศิลปกรรม
100
เจ้าหน้าที่ ผู้บริหารชุมชน ปราชญ์ท้องถิ่น
เจ้าของธุรกิจ / ผู้ประกอบการท้องถิ่น
ผู้สังเกตการณ์ ให้ข้อมูลเพื่อการดำเนินงาน ผู้ช่วยผลิตผลงาน 100
ศิลปิน ครู อาจารย์ นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา
เจ้าของธุรกิจ / ผู้ประกอบการท้องถิ่นและประชาชนผู้สนใจ
ผู้เข้าชมรับบริการองค์ความรู้นำไปใช้ประโยชน์ 800

 

วิธีดำเนินการ/แผนการดำเนินงาน/วิธีประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(ระบุกิจกรรม/งาน ซึ่งจะต้องปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์)

วิธีการดำเนินการวิจัย สถานที่ทำการทดลอง / เก็บข้อมูล
กำหนดพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย แหล่งประกอบการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในเกาะรัตนโกสินทร์ / ภูมิภาคตะวันตก
สำรวจความต้องการและเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย แหล่งประกอบการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในเกาะรัตนโกสินทร์ / ภูมิภาคตะวันตก
วิเคราะห์ข้อมูลและทดลองปฏิบัติงานสร้างสรรค์ต้นแบบ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
เลือกผลงานต้นแบบไปดำเนินการผลิต คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์, แหล่งประกอบการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในเกาะรัตนโกสินทร์ / ภูมิภาคตะวันตก

กิจกรรม

ปี 2553
เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1. แต่งตั้งคณะกรรมการ, อนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ            
2. วางแผนงาน, กำหนดผลลัพธ์            
3. กำหนดศิลปินเข้าร่วมโครงการ            
4. คัดสรรทีมปฏิบัติงานเฉพาะกิจ / เรื่องของโครงการ            
5. จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือ / ครุภัณฑ์            
6. สำรวจฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว            
7. สำรวจพื้นที่เป้าหมาย, สัมภาษณ์ปัญหาความต้องการกลุ่มเป้าหมาย, เก็บขัอมูล            
8. สรุปและนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นให้ศิลปิน            
9. ศิลปินทัศนศึกษาพื้นที่และพบกลุ่มเป้าหมาย, รับฟังข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ/ปราชญ์ท้องถิ่น/ผู้ประกอบการ            
10. ศิลปินกำหนด/เลือกกลุ่มผู้ประกอบการ            
11. ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานต้นแบบ            
12. รวมรวมและจัดทำเอกสารความรู้            
13. รายงานผลครั้งที่ 1            
14. อบรมสัมมนาการสร้างผลผลิตจากงานต้นแบบร่วมกับผู้ประกอบการ            
15. สร้างผลผลิตจากงานต้นแบบ            
16. จัดทำสื่อเผยแพร่ (website, สูจิบัตร, สื่ออื่น ๆ)            
17. จัดนิทรรศการนำเสนอความรู้และผลผลิต            
18. สรุปรายงานผล            

 

ระยะเวลาดำเนินการ

1 เมษายน– 30 กันยายน 2553

 

สถานที่ดำเนินการ

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ 0-2221-0820
โทรสาร 0-2225-8991
e-mail : painting-fac@su.ac.th

 

งบประมาณ

จำนวนเงินทั้งสิ้น 3,500,000.- บาท (สามล้านห้าแสนบาทถ้วน)


แหล่งงบประมาณ

งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

 

ประมาณการรายจ่าย

จำนวนเงินทั้งสิ้น 3,500,000.- บาท (สามล้านห้าแสนบาทถ้วน)
 
(1) ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากรที่ไม่เป็นข้าราชการ 1,200 บาท / ชั่วโมง จำนวน 10 คน คนละ 3 ชั่วโมง 36,000.- บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรที่เป็นข้าราชการ 600 บาท / ชั่วโมง จำนวน 4 คน คนละ 2 ชั่วโมง 4,800.- บาท
ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
วันปกติ จำนวน 10 วัน 5 คน คนละ 200 บาท 10,000.- บาท
วันหยุดราชการ จำนวน 10 วัน 5 คน คนละ 420 บาท 21,000.- บาท
ค่าตอบแทนอื่น ๆ 20,000.- บาท
(2) ค่าใช้สอย
- ค่าใช้จ่ายในการสำรวจ / ปฏิบัติงานนอกสถานที่ (ค่าที่พัก, ค่าเดินทาง, ค่าเบี้ยเลี้ยง)
ค่าที่พัก (พักคู่) ห้องละ 700 บาท จำนวน 5 ห้อง จำนวน 3 วัน 10,500.- บาท
- ค่าที่พัก (วันสัมมนา)
ค่าที่พัก (พักคู่) ห้องละ 700 บาท จำนวน 35 ห้อง จำนวน 3 วัน 73,500.- บาท
- ค่าจ้างเหมาบันทึกรวมรวมข้อมูล 80,000.- บาท
- ค่าจ้างสื่อประชาสัมพันธ์ 17,400.- บาท
- ค่าจ้างเหมาบันทึกภาพ ถ่ายทำวีดีโอ และทำข้อมูล cd 40,000.- บาท
- ค่าจ้างเหมารักษาความปลอดภัย 15,000.- บาท
- ค่าจ้างเหมาขนส่งผลงานศิลปกรรม 35,000.- บาท
- ค่าจ้างเหมาออกแบบตกแต่งสถานที่จัดประชุมสัมมนา / นิทรรศการ 20,000.- บาท
- ค่าอาหารกลางวัน (100 คน x 2 วัน x 600 บาท) 120,000.- บาท
- ค่าอาหารว่าง (100 คน x 3 มื้อ x 25 บาท) 7,500.- บาท
- ค่าจัดเลี้ยงอาหารว่างและเครื่องดื่มพิธีเปิดนิทรรศการ (700 คน x 25 บาท) 17,500.- บาท
- ค่าจ้างเหมายานพาหนะ 45,000.- บาท
- ค่าจ้างเหมาแปลเอกสาร ไทย-อังกฤษ 20,000.- บาท
- ค่าจ้างเหมาออกแบบ / จัดพิมพ์หนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง (เอกสารเผยแพร่ โปสเตอร์ การ์ดเชิญ สูจิบัตร และอื่น ๆ) 650,000.- บาท
- ค่าจ้างเหมาผู้ช่วยช่างเทคนิค 200,000.- บาท
- ค่าจ้างเหมาสร้างสรรค์ / ผลิตผลงานศิลปกรรม 680,000.- บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ 14,000.- บาท
- ค่าจ้างเหมาพิมพ์ดิจิตอล inkjet 40,000.- บาท
- ค่าธรรมเนียมธนาคาร 5,000.- บาท
- ค่าใช้สอยอื่นๆ 10,000.- บาท
(3) ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุในการสร้างสรรค์ศิลปกรรม 340,000.- บาท
- ค่าอุปกรณ์เครื่องมือสร้างสรรค์ศิลปกรรม 300,000.- บาท
- ค่าวัสดุในการเก็บข้อมูล (cd, vdo) 30,000.- บาท
- ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูลภาคสนาม 50,000.- บาท
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 40,000.- บาท
- ค่าวัสดุสำนักงาน 40,000.- บาท
- ค่าวัสดุอื่นๆ 10,000.- บาท
(4) ค่าสาธารณูปโภค
- ค่าไปรษณียากร, ems 10,000.- บาท
- ค่าโทรศัพท์ 10,000.- บาท
- ค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ 7,800.- บาท
(5) ค่าครุภัณฑ์
- ชุดอุปกรณ์เก็บข้อมูลศิลปกรรม 99,000.- บาท
- ชุดอุปกรณ์สัมมนาและปฏิบัติการ 92,400.- บาท
- ชุดตู้เก็บรักษาผลงานศิลปกรรม 73,600.- บาท
- ชุดอุปกรณ์นำเสนอผลงานศิลปกรรม 85,000.- บาท
(6) รายจ่ายอื่นๆ
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 20,000.- บาท
รวมทั้งสิ้น 3,500,000.- บาท
หมายเหตุ ขอถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

 

11. ตัวชี้วัดผลสำเร็จจากการดำเนินงาน

ตัวชี้วัด หน่วยนับ แผน ผล
2553 2554
ผลลัพธ์
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ      
- ผู้เข้ารับบริการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ 80 90
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ      
- ความพึงพอใจของผู้รับบริการ/ หน่วยงาน /องค์กรที่รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ ร้อยละ 80 90
ผลผลิต
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ      
- จำนวนผู้เข้ารับบริการ คน 500 1000
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ      
-ความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ ร้อยละ 80 90
ตัวชี้วัดเชิงเวลา      
- งานบริการวิชาการแล้วเสร็จตามระยะเวลา ร้อยละ 90 100
ตัวชี้วัดเชิงต้นทุน      
-ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ร้อยละ 100 100

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • เกิดการต่อยอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • เกิดแก้ปัญหาในการดำเนินงานของเจ้าของธุรกิจ / ผู้ประกอบการท้องถิ่นที่ทำการสร้างสรรค์ / วิจัย
  • เกิดองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์ / วิจัยต่อไป
  • เกิดการบริการความรู้แก่ประชาชน
  • เกิดการบริการความรู้แก่ภาคธุรกิจ
  • เกิดการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์
  • เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
  • เกิดประโยชน์ต่อประชากรกลุ่มเป้าหมาย